นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงข่าวกรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด นายกฤษดา รักษากุล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กับพวก รวม 33 ราย กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ทุจริตในการขายที่ดินของการเคหะแห่งชาติ บริเวณโครงการเคหะชุมชนและบริการชุมชนหารายได้ร่มเกล้า ระยะที่ 10 (พาร์ควิลล์ ร่มเกล้า) เอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มนายทุนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สืบเนื่องจาก ป.ป.ช.มีมติมอบหมายคณะไต่สวนคดีดังกล่าว พบข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำหน้าที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบหลักการกรอบแผนการลงทุนและอนุมัติโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุดที่ 1 ปี 2557 ซึ่งมีโครงการเคหะชุมชนและบริการชุมชนหารายได้ร่มเกล้าระยะที่ 10 (พาร์ควิลล์ ร่มเกล้า) ที่มีแผนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 269 หน่วยในพื้นที่กว่า 35 ไร่รวมอยู่ด้วย
ต่อมามีนายประเสริฐ บินอานัด กับพวกรวม 8 ราย (เจ้าของที่ดินที่มีพื้นติดกับที่ดินของการเคหะแห่งชาติ) ได้ร่วมมือกับนายเจริญพนิช จันทภิรมย์รักษ์ นายหน้าค้าที่ดิน กับพวกรวม 3 ราย โดยมอบอำนาจลอยระบุว่าผู้มอบอำนาจได้มอบอำนาจให้นายหน้าเป็นผู้ดำเนินการยื่นเสนอขอซื้อที่ดินในโครงการที่ ครม. ได้อนุมัติแล้วจำนวนเนื้อที่ 260 ตารางวา ความกว้าง 22 เมตร ความยาว 47 เมตร
ทั้งที่ นายประเสริฐ บินอานัด กับพวกรวม 8 ราย ไม่มีความประสงค์ที่จะซื้อที่ดินในโครงการดังกล่าวตั้งแต่แรก เนื่องจากสามารถเข้าออกที่ดินผ่านทางเดินริมคลองได้อยู่แล้วและไม่มีเงินเพียงพอที่ซื้อได้ แต่เป็นความประสงค์ของ นายเจริญพนิช จันทภิรมย์รักษ์ นายหน้าค้าที่ดินกับพวกรวม 3 ราย ที่ต้องการซื้อที่ดินดังกล่าวไว้ใช้เป็นทางเข้าออกของโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่ฝ่ายนายหน้าได้รวบรวมที่ดินแปลงใหญ่ จำนวนกว่า 170 ไร่ ไว้ก่อนแล้ว
เมื่อการเคหะแห่งชาติได้รับคำเสนอซื้อแล้วได้มีการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาการปรับปรุงโครงการด้านกายภาพ (คณะหนึ่ง) ซึ่งมีนายชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์ รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เป็นประธานในที่ประชุมได้พิจารณาการเสนอซื้อที่ดินของนายหน้า และมีมติขายที่ดินระบุให้สิทธิโดยตรง
เนื่องจากเป็นที่ดินตาบอดไม่มี ทางเข้า – ออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณาโดยไม่ได้มีการตรวจสอบคำเสนอซื้อ ทั้งที่ในคำเสนอซื้อสามารถพบข้อพิรุธที่ควรต้องตรวจสอบ เช่น ระบุความประสงค์ว่าต้องการที่ดินเพื่อทำหมู่บ้านจัดสรรบ้านเดี่ยว 2 ชั้น จำนวน 145 หน่วย , สำเนาโฉนดที่อ้างว่าเป็นที่ดินตาบอดไม่มีหน้าสารบัญเพื่อใช้ยืนยันตัวตนผู้มอบอำนาจได้ เป็นต้น
จากนั้นนางสาวบังอร ทองส่งโสม กับพวกรวม 5 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพย์สินและอาคารเช่าที่มีหน้าที่ตรวจสอบ คำเสนอซื้อ แต่ละเว้นไม่ดำเนินการการตรวจสอบ ทำให้ไม่ทราบถึงพฤติการณ์การขอซื้อที่ดินของนายหน้าเพื่อนำที่ดินไปใช้ประโยชน์ และได้เสนอเรื่องให้ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ พิจารณาอนุมัติขายที่ดินดังกล่าว
ซึ่งนายกฤษดา รักษากุล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติได้มีคำสั่งอนุมัติโดยไม่ได้มีการตรวจสอบทั้งที่รู้อยู่ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดทำโครงการพาร์ควิลล์ ร่มเกล้าแล้ว และการอนุมัติขายที่ดินของผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติยังเป็นการหลีกเลี่ยงการขายยื่นซองเสนอซื้อหรือการประกวดราคาตามระเบียบการเคหะแห่งชาติว่าด้วยการขายที่ดิน พ.ศ. 2548 ข้อ 7
ภายหลังจากที่นายกฤษดา รักษากุล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติอนุมัติขายที่ดิน นายเจริญพนิช จันทภิรมย์รักษ์ กับพวกรวม 3 ราย ได้ไปทำความตกลงกับนายนันทวัฒน์ พิพัฒวงศ์เกษม กรรมการบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ว่าบริษัทจะรับผิดชอบเงินที่ต้องชำระค่าที่ดินจำนวนกว่า 28 ล้านบาท โดยการสั่งจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค 2 ฉบับจ่ายโดยตรงให้กับการเคหะแห่งชาติ ฉบับแรกจำนวน 5.8 ล้านบาท และฉบับที่ 2 กว่า 23 ล้านบาท
จากนั้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 การเคหะแห่งชาติได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 48160 ให้กับ นายประเสริฐ บินอานัด กับพวกรวม 8 ราย โดยมีนายหน้าทำการแทนทั้งในฐานะผู้รับมอบอำนาจของผู้ซื้อและผู้ขาย ให้กับบริษัท แอตแลนติก เรียลเอสเตท จำกัด (บริษัทในเครือบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)) จากนั้นบริษัท แอตแลนติก เรียลเอสเตท จำกัด ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้กับการเคหะแห่งชาติจนครบถ้วน
การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบคำเสนอซื้อดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกันทุจริต หลีกเลี่ยงการขายที่ดินตามระเบียบการเคหะแห่งชาติว่าด้วยการขายที่ดิน พ.ศ. 2548 จากวิธียื่นซองเสนอราคาเป็นวิธีให้สิทธิโดยตรง ฝ่าฝืนมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายหน้า ชาวบ้านผู้ขอซื้อ และกลุ่มบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อที่ดินตามที่วางแผนไว้เพื่อจัดทำเป็นถนนเข้า – ออกสู่โครงการหมู่บ้านจัดสรร
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติ ว่า การกระทำของนายกฤษดา รักษากุล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ, นายชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์ นางพัชรวรรณ สุวปรีชาภาส นายประภาส สัมมาชีพ นายสุเมธัส ชูจิตารมย์ นายวิญญา สิงห์อินทร์ และนางจงรัก เฉลิมเกียรติ ในฐานะกรรมการพิจารณาการปรับปรุงโครงการด้านกายภาพ (คณะหนึ่ง) มีมูลความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และมาตรา 11 ,พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172)
และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับการเคหะ ฉบับที่ 66 ว่าด้วย การบรรจุ การแต่งตั้ง การตัด หรือลดขั้นเงินเดือน การออกจากตำแหน่ง วินัย การลงโทษ และการอุทธรณ์การลงโทษ ของพนักงาน ข้อ 38
ป.ป.ช.ฟันอดีต ปธ.อคส.พร้อมพวก ในคดีถุงมือยาง
นายพล ป.- นายศักดิ์ ให้ปากคำ ตร. หลังมีชื่อเอี่ยวส่งเงิน 6 ล้านชูวิทย์
สำหรับนายสมคิด จารุมาศมงคล นายมานิตย์ ตันติเสรี นางสาวกัลยา พึ่งคง และนายสมบูรณ์ พรหมหาราช ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการปรับปรุงโครงการด้านกายภาพ (คณะหนึ่ง) ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายแทนกรรมการฯ นั้น ข้อกล่าวหาทางอาญาไม่มีมูลให้ข้อกล่าวหาตกไป แต่มีมูลความผิดทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่การเคหะแห่งชาติ ด้วยความเอาใจใส่ระมัดระวังและรักษาผลประโยชน์ของการเคหะแห่งชาติ ตามข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 66 ว่าด้วยการบรรจุการแต่งตั้ง ข้อ 28
การกระทำของนายวิญญา สิงห์อินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานสินทรัพย์, นางสาวบังอร ทองส่งโสม นายนันทพล ทองพ่วง นางกิตติมา รุ่งกระจ่าง และนายสุภัคร ลดาวัลย์ ณ อยุธยา เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงานสินทรัพย์ และอาคารเช่า มีมูลความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 , พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ,พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตพ.ศ. 2561 มาตรา 172)
และมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับการเคหะ ฉบับที่ 66 ว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การตัดหรือลดขั้นเงินเดือน การออกจากตำแหน่ง วินัย การลงโทษ และการอุทธรณ์ การลงโทษของพนักงาน ข้อ 38
การกระทำของนายเจริญพนิช จันทภิรมย์รักษ์ , นายภิรมย์ แฟงทอง , นายจุลศักดิ์ มาตรไตร , นายประเสริฐ บินอานัด , นายวุฒิชัย บินอานัด , นางอรดา มารีย๊ะ , นายสุชาติ บินอานัด , นางดวงใจ ฤทธิเดช , นายธีรศักดิ์ ทับอุไร , นายนันทวัฒน์ พิพัฒวงศ์เกษม , นายอดิศร ธนนันท์นราพูล , นายวิศิษฐ์ ตันติชัยปกรณ์ , นายธีระ เบญจศิลารักษ์ , นายอนันต์ อัศวโภคิน , บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอตแลนติกเรียลเอสเตท จำกัด
มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนพนักงานในหน่วยงานของรัฐกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และมาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 , พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 , พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 123/1 (ปัจจุบันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
สำหรับนายสมจิตร ซาฟีวงษ์ และนางคอเยาะ วงษ์อารี ข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้ถึงแก่ความตายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจดำเนินการไต่สวนต่อไปได้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 57 จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ
ให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีกับผู้กระทำความผิด และส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน และคำวินิจฉัยไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (1) (2) และมาตรา 98 และให้แจ้งผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง หรือถอดถอน ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ เพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ด้วย