บรรดาผู้สนับสนุนของผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ที่มารวมตัวกันชุมนุมเป็นครั้งสุดท้ายในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย เมืองโซโล และเมืองเซมารัง สามเมืองสำคัญทางตอนกลางของเกาะชวา เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ก่อนที่ผู้สมัครทุกคนจะเข้าสู่ช่วงพักการหาเสียงตั้งแต่วันที่ 11-14 กุมภาพันธ์
คณะกรรมการการเลือกตั้งทั่วไปของอินโดนีเซียเปิดเผยว่า ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ จะมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาวอินโดนีเซียมากกว่า 204 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 270 ล้านคน เข้าคูหาเพื่อลงคะแนน
อินโดนีเซียใช้ Deepfake AI ปลุกชีพนายพลเผด็จการช่วยหาเสียงเลือกตั้ง
กัมพูชารายงานพบ “โลมาอิรวดี” เกิดใหม่ ตัวแรกของปี 2024
หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า สัดส่วนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปรอบนี้ ค่อนข้างน่าสนใจ เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งราวๆ ร้อยละ 52 มีอายุต่ำกว่า 40 ปี และผู้มีสิทธิเลือกตั้งราวร้อยละ 33 มีอายุต่ำกว่า 30 ปี
นี่หมายความว่าเสียงของบรรดาคนรุ่นใหม่ ค่อนข้างมีความสำคัญกับการเลือกตั้งในรอบนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินว่า แม้ว่าทางการอินโดนีเซียจะไม่บังคับให้ไปเลือกตั้ง แต่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะออกมาใช้สิทธิเป็นจำนวนมาก เนื่องจากวันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นวันหยุดราชการ ผู้คนจะสามารถออกไปเลือกตั้งที่คูหาได้อย่างเต็มที่
ย้อนกลับไปเมื่อการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในปี 2019 บรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ไปเข้าคูหาลงคะแนนมากถึงร้อยละ 81
ทั้งนี้ ในวันเลือกตั้ง ชาวอินโดนีเซียไม่ได้เพียงแค่เลือกตัวประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีคนใหม่เท่านั้น แต่ยังต้องเลือกผู้แทนรัฐสภาและผู้แทนท้องถิ่นด้วย การเลือกตั้งวันดังกล่าว หน่วยเลือกตั้งอินโดนีเซียที่มีมากกว่า 820,000 แห่งทั่วประเทศ ที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งประมาณ 7 ล้านคน จะเปิดให้ประชาชนเข้ามาลงคะแนนเสียงในตั้งแต่ 07.00 ถึง 13.00 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น โดยยึดตามการแบ่งช่วงเวลา 3 ไทม์โซน
ตามกฎหมายของอินโดนีเซีย ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคนที่อายุเกิน 17 ปี จะได้รับบัตรลงคะแนนที่แตกต่างกัน 5 ใบ เพื่อใช้เลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี รวมถึงผู้แทนในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
นี่จึงทำให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถือเป็นวันที่มีการจัดการเลือกตั้งวันเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพรรคการเมืองระดับชาติของอินโดนีเซียทั้งหมด 18 พรรคเข้าชิงชัยในตำแหน่งต่างๆ
ในการเลือกตั้งปีนี้ โจโก วิโดโด หรือ โจโกวี ประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนปัจจุบัน ไม่ได้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วย เนื่องจากเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนครบวาระ 2 สมัยตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้แล้ว
นี่ทำให้การเลือกตั้งในปีนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำประเทศครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยมีแคนดิเดตที่สำคัญ 3 คนที่เสนอตัวเข้ามาชิงตำแหน่งผู้นำประเทศที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
แคนดิเดตคนแรกคือปราโบโว ซูเบียนโต (Prabowo Subianto) รัฐมนตรีกลาโหมคนปัจจุบัน และหัวหน้าพรรคเกอรินดรา (Gerindra) วัย 72 ปี ซูเบียนโตเป็นอดีตนายพลและเป็นลูกเขยของพลเอกมูฮัมหมัด ซูฮาร์โต อดีตประธานาธิบดีเผด็จการคนที่ 2 ของอินโดนีเซีย การเลือกตั้งปี 2024 นี้ ถือเป็นการลงสนามเลือกตั้งระดับชาติ เพื่อชิงตำแหน่งผู้นำอินโดนีเซียครั้งที่ 3 ของซูเบียนโต หลังจากเคยแพ้ให้กับ โจโกวี ในการเลือกตั้งปี 2014 และ 2019
ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในกองทัพ ซูเบียนโตเคยถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกกล่าวหาว่า ลักพาตัวนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยมากกว่า 20 คนในช่วงปลายศตวรรษ 199 แต่ก็ไม่เคยถูกตั้งข้อหาใดๆ และในบรรดานักเคลื่อนไหวที่ถูกลักพาตัว มี 12 คนที่หายตัวไปอย่างปริศนา ในปี 1998 เขาถูกปลดออกจากกองทัพ และถูกสั่งห้ามเดินทางเข้าสหรัฐฯ จนถึงปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมภายใต้การนำของโจโกวี
นอกจากนี้ เขายังถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนในติมอร์ตะวันออก และจังหวัดปาปัวของอินโดนีเซีย ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ ซูเบียนโต ได้ดึงตัวกีบราน ราคาบูมิง ราคา นายกเทศมนตรีเมืองซูราการ์ตา วัย 36 ปี ซึ่งเป็นลูกชายคนโตของประธานาธิบดีโจโกวี ลงสมัครเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี เพื่อกวาดคะแนนเสียงจากผู้สนับสนุนประธานาธิบดีโจโกวี ประเด็นนี้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติเห็นชอบให้กีบรานลงสมัครได้ ทั้งที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ที่ 40 ปี เนื่องจากกีบรานเคยมีประสบการณ์ในการบริหารระดับภูมิภาคมาแล้ว
ทั้งนี้ประธานาธิบดีโจโกวี ไม่ได้ออกมาส่งเสียงสนับสนุนทั้งสองคนนี้อย่างชัดเจน เนื่องจากผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจะต้องเป็นกลาง
สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ซูเบียนโต และกีบราน ราคาบูมิง ราคา ถูกมองว่าเป็นตัวเต็ง ทั้งสองคนให้คำมั่นสัญญาว่าจะสานต่อความคิดริเริ่มของโจโกวี ที่จะทำให้อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2045 รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ รวมถึงการย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังนูซันตารา บนเกาะบอร์เนียว
ส่วนแคนดิเดตคนที่สอง คือ "กันจาร์ ปราโนโว" (Ganjar Pranowo) อดีตผู้ว่าการจังหวัดชวากลาง วัย 55 ปี ผู้สมัครจากพรรค PDI-P ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมที่สนับสนุนให้โจโกวีดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2014 และปี 2019
ปราโนโว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยกัดจาห์ มาดา และปริญญาโทรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย
เริ่มสนใจการเมืองตั้งแต่สมัยเรียนช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 หลังเข้าร่วมกลุ่มนักศึกษาที่เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย และเดินหน้าสนับสนุนเมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี ที่ออกมาก่อตั้งพรรค PDI-P ในปี 1999
ปราโนโว ได้ดึงตัว มาห์ฟุด เอ็มดี วัย 66 ปี อดีตรัฐมนตรีกลาโหม และอดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ เข้าร่วมศึกเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งคู่ได้เรียกคะแนนเสียงด้วยการประกาศว่าพวกเขามาจากชนชั้นรากหญ้า และเข้าใจหัวอกชาวอินโดนีเซีย หลังจากได้เดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อรับฟังข้อกังวลของชาวอินโดนีเซีย
ปราโนโว ให้คำมั่นสัญญากับผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่า จะสานต่อนโยบายของผู้นำคนปัจจุบัน พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการและครูด้วย
ขณะที่แคนดิเดตคนสุดท้ายคือ อานีส บาสเวดัน (Anies Baswedan) อดีตผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา วัย 54 ปี ซึ่งลงสมัครชิงตำแหน่งในฐานะผู้สมัครอิสระ และเป็นแคนดิเดตจากฝ่ายค้าน
บาสเวดันสำเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา และเข้าทำงานในวงการวิชาการ ก่อนที่จะเข้าสู่วงการการเมืองในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย
บาสเวดันได้ควงคู่มากับ มูไฮมิน อิสกันดาร์ รองโฆษกสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำพรรค PKB ซึ่งเป็นพรรคการเมืองมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย พรรค PKB ได้รับการสนับสนุนจากพรรค NasDem และพรรค PKS ซึ่งเป็นพรรคมุสลิมเช่นกัน
ทั้งสองคนให้คำมั่นสัญญาว่า จะทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีความยุติธรรม และเจริญรุ่งเรือง พร้อมทั้งส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กเพื่อสร้างงานให้มากขึ้น และจะไม่สานต่อนโยบายของโจโกวี
นักวิเคราะห์ชี้ว่าการเลือกตั้งของอินโดนีเซียครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสในการเยียวยาประเทศ และเป็นช่วงเวลาสำคัญในการฟื้นฟูอินโดนีเซียในอีก 5 ปีข้างหน้า ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจ และความเสื่อมถอยของระบอบประชาธิปไตยในประเทศ
อินโดนีเซียเผชิญปัญหาเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก คือ เรื่องของค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ดังนั้น ประเด็นความกังวลหลักของชาวอินโดนีเซียคือ ค่าครองชีพและความสามารถในการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว ข้อมูลสถิติของอินโดนีเซียชี้ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 2023 อยู่ที่ร้อยละ 5.05 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2020 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการส่งออกที่ลดลงและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น
ขณะที่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ฐานเสียงหลักของแต่ละพรรคในการเลือกตั้ง ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ให้ความสำคัญกับเรื่องการจ้างงานในประเทศ
สถิติของอินโดนีเซียชี้ว่า อัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคมปี 2023 อยู่ที่ร้อยละ 5.32 และค่าจ้างรายเดือนโดยเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ 3.18 ล้านรูเปียห์ หรือประมาณ 7,200 บาทเท่านั้น
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังเผชิญกับปัญหาอื่นๆ ได้แก่ ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน และความเสื่อมถอยด้านประชาธิปไตยในประเทศนักศึกษาจำนวนมากได้ออกมาประท้วงประธานาธิบดีโจโกวี โดยระบุว่าให้วางตัวเป็นกลางก่อนการเลือกตั้ง รวมถึงเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและโปร่งใส
อเล็กซ์ อาริเฟียนโต นักวิจัยจากวิทยาลัยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเอส ราชารัตนัม หรือ RSIS ในสิงคโปร์ ระบุว่า
ความเคลื่อนไหวของนักศึกษาในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ถือเป็นขบวนการประท้วงของนักศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียนับตั้งแต่ปี 1997 และ 1998 นี่จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียต้องตระหนักและเฝ้าระวังในวันหลังการประกาศผลการเลือกตั้ง เหล่านี้คือปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องบรรจุเข้าไปนโยบาย
อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายมองว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย มีแนวโน้มที่จะเป็นการแข่งขันระหว่างตัวบุคคลมากกว่านโยบาย
เนื่องจากผู้สมัครทั้งสามคนต่างให้คำมั่นสัญญาที่คล้ายกันคือ เรื่องของการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสวัสดิการที่ครอบคลุมให้กับชาวอินโดนีเซีย ดังนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงหันไปเลือกผู้สมัครจากชื่อเสียงส่วนบุคคลหรือผู้ที่อยู่เบื้องหลังและสนับสนุนผู้สมัคร
ล่าสุด ผลสำรวจของอินดิเคตอร์ โพลิติค Indikator Politik และเลมบากา เซอร์เวย์ Lembaga Survei Indonesia คาดการณ์ว่า ปราโบโว ซูเบียนโต คือผู้สมัครที่ได้รับคะแนนนิยมมากที่สุด โดยอาจได้รับคะแนนเสียงข้างมากด้วยคะแนนสนับสนุนถึงร้อยละ 51.8 และ 51.9 ตามลำดับ ขณะที่กันจาร์ ปราโนโว และ อานีส บาสเวอดัน ยังคงมีคะแนนตามหลัง ซึ่งห่างไกลจากคะแนนของซูเบียนโต
ส่วนบรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งของอินโดนีเซียในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างคึกคัก หนึ่งในช่องทางสำคัญของการหาเสียงของที่นั่นคือสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะติ๊กต่อก ที่ตัวเต็งอันดับ 1 อย่าง ปราโบโว ซูเบียนโต ใช้งานได้ผลดีกับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อินโดนีเซีย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นติ๊กต่อกรายใหญ่ที่สุดของโลก นี่จึงทำให้ "ติ๊กต็อก" ถูกนำมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และกลายเป็นแหล่งข้อมูลทางการเมืองที่มีผู้ใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากโทรทัศน์
ด้านปราโบโว ซูเบียนโต ได้ใช้แพลตฟอร์มนี้ในการหาเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพและกินใจกลุ่มฐานเสียงคนรุ่นใหม่มากที่สุด โดยเขาได้เน้นไปที่การสร้างคลิปเต้นรำสนุกๆ โดยมีบางคลิปที่ตัวเขาโชว์ลีลาการเต้นเท้าไฟด้วยตัวเอง
วิธีการนี้นับว่าใช้ได้ผลกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มองว่าท่าเต้นเก้ๆ กังๆของ ปราโบโว ซูเบียนโต เต็มไปด้วยความน่ารัก จนกลายเป็นกระแสไวรัล ที่ช่วยให้ตัวเขาเจาะฐานเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี นักวิจัยด้านการสื่อสารชี้ว่า ที่ปราโบโว ซูเบียนโต ใช้กลยุทธ์นี้ เป็นเพราะต้องการทำแคมเปญรีแบรนด์ตัวเอง เพื่อสลัดคราบเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ ในเลือกตั้งอินโดนีเซียครั้งนี้ ผู้สมัครยังได้นำปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เรียกกันว่า ดีพเฟค (Deepfakes) มาช่วยหาเสียงด้วย นี่คือคลิปวิดีโอความยาวเกือบ 3 นาทีที่พรรคโกลการ์ (Golkar) หนึ่งในพรรคการเมืองที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของอินโดนีเซีย เผยแพร่ทางโลกออนไลน์
จากภาพจะเห็นว่า “ซูฮาร์โต” (Suharto) อดีตผู้นำนายพลผู้สร้างความหวาดกลัว และปกครองอินโดนีเซียด้วยความโหดเหี้ยมนานกว่า 3 ทศวรรษระหว่างปี 1968-1998 ซึ่งตัวจริงถึงแก่อสัญกรรมไปแล้วตั้งแต่ปี 2008 ได้ออกมาช่วยหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ แม้พรรคนี้จะไม่ได้ส่งผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ว่าการแชร์คลิปซูฮาร์โต ถือเป็นการส่งสัญญาณสนับสนุนปราโบโว ซึ่งเป็นลูกเขยของอดีตซูฮาร์โต ในการเลือกตั้งครั้งนี้
นี่ถือเป็นการฟื้นคืนชีพอดีตผู้นำเผด็จการผู้ล่วงลับ เพื่อนำมาใช้ในการช่วยหาเสียงอย่างไรก็ตาม ผู้คนบนสื่อสังคมออนไลน์ต่างไม่เห็นด้วย ที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้เพื่อสร้างโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง
คอนเฟิร์ม “ลิซ่า ลลิษา” ร่วมแสดงซีรีส์ดัง ‘The White Lotus’ ซีซัน 3
แฉกลยุทธ์ใหม่! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกคุย 2 นาที-ดูดเงินได้เกลี้ยงบัญชี
เปิดตัวละครใหม่ยัน "น้องพร" โกหกทั้งหมด